วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557

บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

 1. เอกสารที่เกี่ยวข้อง
            1.1 หนังสือวิชาสร้างงานไดอะแกรมอย่างง่ายถึงระดับสากลด้วย Visio 2003
 2.ทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง
     2.1 งานไดอะแกรมกับ Visio 2003
      Visio เป็นโปรแกรมที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อช่วยในการสร้างผังงาน,โฟวชาร์ท หรือไดอะแกรมได้หลากหลายรูปแบบ ซึ่งช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องตั่งแต่นักศึกษา ไปจนถึงวิศวกร สามารถออกแบบและสร้างไดอะแกรมได้สะดวก รวดเร็ว ลักษณะเด่นอย่างหนึ่งของการสร้างไดอะแกรมบน Visio คือ มีรูปพื้นฐานต่างๆ จำนวนมาก เรียกตามหมวดหมู่ไว้ให้อยู่แล้ว
งานไดอะแกรมที่เราพบกันบ่อยๆ
        เนื่องจาก Visio เป็นเครื่องมือในการสร้างไดอะแกรม,โฟวชาร์ท,แบบแปลน ที่ใช้งานง่ายและราคาไม่แพงจนเกินไป จนได้รับความนิยมในการนำไปใช้งานด้านต่างๆ ดังนี้
ไดอะแกรมทั่วไป
        เป็นไดอะแกรมที่ประกอบด้วยรูปทรงพื้นฐานมักพบเห็นได้ทั่วไปถูกนำไปใช้ในงานต่างๆ ตั่งแต่ส่วนประกอบรายงานนักเรียน นักศึกษา เจ้าหน้าที่เฉพาะด้านฝ่ายวางแผน



                         
    
                                             
                                                                              ภาพที่ 2.1 แสดงไดอะแกรมทั่วไป
          
ผังองค์กร
        หรือเรียกว่า Organization chart เป็นไดอะแกรมซึ้งแสดงถึงหน้าที่ความรับผิดชอบบุคคลใน องค์กรโดยเชื่อมกันเป็นลำดับ มีอยู่หลายแบบด้วยกัน


                                                       
                                
                                  
                        ภาพที่ 2.2ผังองค์กร

โฟวชาร์ทสำหรับงานด้านธุรกิจ
          แสดงขั้นตอนการทำงานของฝ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นในองค์กร หรือเป็นระบบที่วางแผนขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับองค์กรในด้านต่างๆ ที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน




                                                                ภาพที่ 2.3โฟวชาร์ทสำหรับงานด้านธุรกิจ


แผนภูมิ ชาร์ต กราฟ
       ใช้นำเสนอผลงานที่ได้จากการบันทึกข้อมูลที่เป็นจำนวนเลขต่างๆ เพื่อเปียบเทียบ มีให้เลือกทั้งแบบเส้น
แบบแท่ง แบบวงกลม รูปภาพพื้นที่



                                                                    ภาพที่ 2.4 แผนภูมิ ชาร์ต กราฟ

แผนงานโครงการ
        เป็นตารางแสดงการนำเนินงานตามแผนงานที่ได้จัดทำขึ้นโดยแต่ละงานจะมีวันเริ่มต้นและวันสินสุด เพื่อให้บรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ภาตใต้ระยะเวลา แหล่งทรัพยากร และงบประมาณที่วางไว้



                                                                                 ภาพที่ 2.5 แผนงานโครงการ


โครงร่างเว็บไชต์
          เว็บมาสเตอร์ใช้ในการร่างโครงสร้างของเว็บไชต์เพื่อช่วยในการวางแผนและตกลงร่วมกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องก่อนลงมือสร้างจริง



                                                           ภาพที่ 2.6 โครงร่างเว็บไซต์

แปลนบ้าน ออฟฟิศ โรงงาน  
          เราสามารถออกแบบแปลนในมุมมอง Top Viewได้อย่างง่ายๆ ด้วยตนเอง โดยที่ไม่ต้องใช้โปรแกรมอย่าง
เช่น  AutoCAD ซึ้งมีราคาแพง และต้องใช้ความชำนาญสูง



                                                                 ภาพที่ 2.7   แปลนบ้าน ออฟฟิศ โรงงาน                               


วงจรไฟฟ้า วงจรอิเล็กทรอนิกส์
         เป็นงานเฉพาะในการออกแบบทางวิศวกรรม โดยนำชิ้นส่วนต่างๆ มาต่อเป็นวงจร หรือนำไปใช้ในลักษณะ
โครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

                                                                   
                                                                 ภาพที่ 2.8 วงจรไฟฟ้า วงจรอิเล็กทรอนิกส์


โมดูลซอฟต์แวร์
        ช่วยโปรแกรมเมอร์ในการออกแบบโครงร่างของระบบไดอะแกรม ก่อนลงมือสร้างแอพพลิเคชั่นจริงๆ เช่น ไดอะแกรม UML (Unified Modeling Language) ซึ้งถือว่าเป็นมาตรฐานของไดอะแกรมในการสร้างโซลูชั่น
ด้านโซลูชั่นด้านซอฟต์แวร์ในปัจจุบัน
ระบบเครือข่าย
          เพื่อให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายสารสนเทศใช้ในการออกแบบการวางระบบ การกำหนดลักษณะและการติดตั่งอุปกรณ์
คอมพิวเตอร์ขององค์กร หรือในหน่วยงานต่างๆ



                                                                            ภาพที่ 2.9 ระบบเครือข่าย
  
 ข้อดีของ Visio
          Visio ช่วยให้การสร้างไดอะแกรมเพื่อการวางแผนหรือการนำเสนอทำอย่างไรสะดวก รวดเร็วโดย Visio ได้จัดเตรียมรูป วัตถุสัญลักษณ์ (ซึ้งใน Visio เรียกว่า เชพ) พื้นฐานให้แล้ว รวมถึงเชพ
ที่เกี่ยวข้องในสาขาที่เราต้องการ เราจึงไม่ต้องสร้างเองทั้งหมด
        ใช้งานง่าย แนวทางของการใช้งาน Visio มีแนวคิดหลัก   ก็คือ การนำเชพที่ต้องการลากมาวางบนพื้นที่วาด แล้วเชื่อมต่อเชพเหล่านั้นด้วยคอนเนกเตอร์ หลังจากนั้นก็พิมพ์ข้อความประกอบเข้าไป
         สนับสนุนกับชุดโปรแกรม Office Visio เป็นหนึ่งโปรแกรมในชุด Microsoft Office System ซึ่งทำงาน หลายอย่างดูกออกแบบมาให้เหมือนกับโปรแกรมออฟฟิศตัวอื่น รวมถึงสามารถสนับสนุนการใช้งานข้อมูลร่วมกัน ด้วย หากใช้งานโปรแกรมออฟฟิศได้ ก็เรียนรู้โปรแกรม Visio ได้รวดเร็ว
         บันทึกไฟล์ไปใช้งานในรูปแบบอื่นๆ งานไดอะแกรมที่สร้างด้วย Visio สามารถถูกบันทึกไปใช้งานในลักษณะของภาพเว็บเพจเพื่อการนำเสนอข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต,บันทึกไฟล์ AutoCAD,บันทึกเป็นไฟล์ภาพเพื่อนำไปประกอบในเอกสารรายงาน หรือสื่อต่างๆ ได้ตามต้องการ
ความสามารถใหม่ใน Visio 2003
               Visio 2003 ได้เพิ่มความสามารถใหม่ขึ้นจากรุ่นเก่าๆ ทำให้เราใช้งานได้ดีขึ้น ดังนี้
ปรับปรุงและเพิ่มเทมเพลต
               เทมเพลตได้รับการปรับปรุง และเพิ่มเข้ามา ดังนี้
               Business Process สำหรับสร้างไดอะแกรมด้านธุรกรรมขององค์กร หรือขั้นตอนการทำงานเฉพาะอย่าง ได้เพิ่มเทมเพลตใหม่ๆ เข้ามาหลายเทมเพลต เช่น ผังงานแสดงสาเหตุและผลที่เกิดขึ้น (cause and effect diagrams), ไดอะแกรมสำหรับแสดงการทำงานบางอย่างจากสาเหตุที่เกิดขึ้น (event-driven process chain (EPC) diagrams ), ผังทีใบ่งชี้ และประเมินความเสี่ยง (fault tree analysis diagram)
             BrainStorming สำหรับสร้างไดอะแกรมที่รวบรวมความคิดของกลุ่ม มาเชื่อมโยงความสัมพันธ์ ซึ่ง สามารถเอกซ์พอร์ทไปเป็น MS Word หรือข้อมูล XML ได้
              Calenda ใช้สร้างตารางงานเพื่อกำหนดนัดหมายต่างๆ ในเวอร์ชั่นนี้ สามารถอิมพอร์ทขิอมูลการนัดหมายจากโปรแกรม MS Outlook แล้วนำมาปับใหม่ตามที่ต้องการในเทมเพลตนี้ได้
              Organization chart สร้างไดอะแกรมแสดงโครงสร้างขององค์กร ในเวอร์ชั่นนี้ สามารถเพิ่มภาพเข้าไปในเชพได้
              Timeline สำหรับสร้างเส้นเวลาของโปรเจกต์ในช่วงเวลาต่างๆ สามารถสร้าง Timeline ได้ทั้งในแนวตั้งและแนวนอน
              Basic Network Diagram ใช้สร้างระบบเครือข่ายอย่างง่ายๆ ไม่มีรายละเอียดมากนัก

ความสามารถในการจัดการเชพ
             Search for Shape ในเวอร์นี้เราสามารถค้นหาเชพที่ต้องการได้ง่ายขึ้น เพียงลงในช่องที่อยู่บริเวณด้านซ้ายมือ และถ้ามีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต โปรแกรมจะเชื่อมต่อไปยังฐานข้อมูลของไมโครซอฟท์ทำให้เราได้เชพเพิ่มมากขึ้น
                Personalize Shape Management สามารถจัดการกับเชพที่ต้องการไว้ในโฟลเดอร์ My Shapes
             New Rotations Handles ช่วยในการหมุนเชพทำได้เร็วขึ้น
             Select Multiple Shapes เราสามารถเลือกเชพได้พร้อมๆ กันหลายเชพ
             DWG Converter เราสามารถคอนเวิร์สไฟล์ AotoCAD ต้นฉบับมาเป็นเชพได้ ซึ่งมีความถูกต้องทั้งด้านระยะห่าง และรูปร่าง
 สนับสนุนการทำงานร่วมกัน
             พื้นที่การทำงานไดอะแกรมร่วมกัน ทำให้เราและทีมงานทุกคนสามารถร่วมกันสร้าง แก้ไขและตรวจทานไดอะแกรม โดยจะเริ่มจากการสร้างพื้นที่การทำงานกลางที่ทุกคนในทีมสามารถเข้าถึงได้
            การสนับสนุนเครื่องแท็บเล็ตพีซี เราสามารถเขียนป้อนข้อมูลด้วยลายมือได้อย่างรวดเร็วเหมือนกับการเขียนปากกาลงบนกระดาษ นอกจากนี้ยังปรับให้หน้าต่างการทำงานแสดงไปทางแนวนอนเพื่อการทำงานที่ง่ายยิ่งขึ้น
           ทำงานร่วมกับโปรแกรม Microsoft Office Visio Viwer 2003 เป็นโปรแกรมที่ช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องคนอื่นสามารถดูไดอะแกรมที่สร้างขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องมีโปรแกรม Visio ติดตั้งไว้ในเครื่อง ซึ่งสามารถดาวน์โหลดโปรแกรม Visio Viewer 2003 ได้จากเว็บไซต์ของไมโครซอฟต์
ความสามารถอื่นๆ
            หน้าต่างการทำงานใหม่ เป็นหน้าต่างของโปรแกรมที่กว้างมากขึ้น และได้เพิ่มเติมหน้าต่างงานใหม่ๆ
            หน้าต่างงาน “Research” เป็นหน้าต่างงานที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต โดยการใช้สารานุกรม การค้นหาเว็บ และเนื้อหาของบริษัทอื่นๆ นอกจากนี้ยังสนับสนุนอรรถาภิธาน และการค้นหาคำพ้อง
           Microsoft Office Online เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างหน้าต่างงานในโปรแกรม และการเข้าสู่เว็บ Office Online ด้วยบราวเซอร์ เพื่อช่วยให้เราเข้าชมข้อมูล บทความ การอบรมออนไลน์ และการดาวน์โหลดภาพตัดปะ แม่แบบและบริการอื่นๆ

ส่วนประกอบต่างๆ ของ Visio 2003
        
 เมื่อเข้าสู่โปรแกรม Visio แล้ว จะปรากฏหน้าจอหลักสำหรับการออกแบบไดอะแกรมที่มีส่วนประกอบสำคัญ ดังนี้

                   

                                                                        ภาพที่ 2.10 ส่วนประกอบต่างๆของ Visio
  

แถบเมนู
      เมนู (Menu) คือ ส่วนที่รวบรวมคำสั่งทั้งหมดที่เราเรียกใช้ได้ จะมี 2 ชั้น โดยเมนูชั้นแรกจะเป็นเมนูหลัก หรือ คำสั่งที่ใช้บ่อย สำหรับผู้ที่ต้องการใช้คำสั่งอื่นที่ไม่ได้แสดงในเมนูชั้นนี้ ก็ให้คลิกที่สัญลักษณ์ » เพื่อเปิดดูคำสั่งในเมนูชั้นที่ 2 ซึ่งเป็นการทำให้เมนูที่เราเปิดอยู่ไม่ดูยาวจนเกินไป เพราะจะแสดงคำสั่งที่ใช้บ่อยให้เห็น
สำหรับเมนูในโปรแกรม Visio 2003 นี้ มีดังนี้
     เมนู File ทำงานกับไฟล์งานไดอะแกรม เช่น การสร้างไฟล์ใหม่ (New) การเปิดไฟล์ขึ้นมาแก้ไข (Open) การบันทึกไฟล์ (Save) การปิดไฟล์งาน (Close) เป็นต้น
     เมนู Edit ทำงานกับข้อมูลภายในไฟล์งานที่เปิดอยู่ เช่น ยกเลิกการทำงานล่าสุด (Undo) คัดลอกข้อมูล (Cope) ตัดข้อมูล (Cut) หรือวางข้อมูลที่คัดลอก (Paste)
     เมนู View กำหนดมุมมองในการทำงานกับไฟล์ข้อมูล
     เมนู Insert แทรกวัตถุต่างๆลงในไฟล์ เช่น รูปภาพ (Picture)
     เมนู Format กำหนดรูปแบบให้กับออบเจ็กที่ถุกที่ถูกเลือกอยู่ในไฟล์งาน เช่น รูปแบบ ข้อความ รูปแบบของภาพ เป็นต้น
     เมนู Tools กำหนดการทำงานของโปรแกรม (Options) หรือเครื่องมืออื่นๆเพิ่มเติม ที่มาพร้อมกับโปรแกรม เช่น การสั่งงาน หรือ ป้อนข้อความด้วยเสียง เป็นต้น
     เมนู Windows กรณีที่เปิดไฟล์งานขึ้นมามากกว่า 1 หน้าต่าง เราสามารถเลือกเมนูนี้ เพื่อเลือกเปิดทำงานกับหน้าต่างไฟล์งานที่ต้องการได้
     เมนู Help เข้าสู่ความช่วยเหลือในโปรแกรม Office

   แถบเครื่องมือ
       แถบเครื่องมือ คือ แถบของปุ่มไอคอนที่ใช้แทนคำสั่งการทำงานต่างๆ ซึ่งเราสามารถเรียกใช้งานได้โดยการคลิกเมาส์ที่ปุ่มนั้น ทำให้ไม่ต้องเลือกคำสั่งจากเมนูที่ขั้นตอนมาก

2.2 เทมเพลตใน Visio 2003
     ใน Visio 2003 ได้เพิ่มเทมเพลตสำหรับงานเฉพาะทางขึ้นมาหลายสาขา ในหัวข้อนี้จะอธิบายเทมเพลตแต่ละแบบวี่ลักษณะอย่างไร และนำไปใช้งานได้อย่างไรบ้าง
Block Diagram
     เป็นไดอะแกรมพื้นฐาน แบ่งได้เป็น
     Basic Diagram ใช้กับไดอะแกรมง่ายๆไม่ซับซ้อน ประกอบไปด้วยรูปทรงพื้นฐาน เช่น สามเหลี่ยมสี่เหลี่ยม  วงกลม กากบาท เป็นไดอะแกรมที่ถูกนำไปใช้งานโดยทั่วๆไป ตัวอย่าง เช่น
    ๏ ใช้ออกแบบประกอบรายงาน
    ๏ ใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการนำเสนอข้อมูลต่างๆ
    ๏ ออกแบบแนวทางในการเพิ่มผลผลิต
            Block Diagram หากต้องการนำเสนอที่ดูเป็นทิศทางการขึ้นมาอีกนิด เราจะใช้เทมเพลตนี้ โดยจะมีรูปทรง            เพิ่มขึ้นและเน้นหนักไปที่รูปทรงที่เป็นลูกศร คอนเนกเตอร์ ตัวอย่างที่นำไปใช้งาน เช่น
            ๏ นักขายหรือการตลาด ใช้นำเสนอ สนับสนุน หรือ ทำรายงาน
            ๏ โปรแกรมเมอร์ ใช้เพื่อช่วยผนวกแนวความคิดเกี่ยวกับการไหลของโครงสร้างข้อมูล
            Block diagram with Perspective เป็นไดอะแกรมแบบบล็อกที่มีมิติ (Perspective) ทำให้งานที่ได้มองออก        มาเป็นออบเจ็กต์ๆ ดูแล้วน่าสนใจมากขึ้น
          
            Brain Storming Diagram เป็นไดอะแกรมสำหรับแสดงการระดมสมอง ในการจัดทำแผนงานเพื่อแก้ไขข้อ          บกพร่อง หรือปรับปรุง เปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาให้ดีขึ้น ตัวอย่างเช่น เพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ สำหรับผู้จัดการ                  โครงการ หรือแนวคิดใหม่ๆสำหรับเพิ่มยอดขาย


                                                                      
                                                                         ภาพที่ 2.11เทมเพลตใน Visio 2003


    Building Plan
            ( มีเฉพาะใน Visio Professional ) เป็นผังงานที่เกี่ยวกับการติดตั้งระบบ หรืออุปกรณ์ หรือเฟอร์นิเจอร์         ภายในห้อง ตึก อาคาร มีเทมเพลตให้ใช้งานดังนี้
 

                                                                                  ภาพที่ 2.2.2 Building Plan


·       Electrical and Telecom part เป็นผังการติดตั้งระบบไฟฟ้าและระบบการสื่อสาร
·       Floor Plans เป็นผังการติดตั้งองค์ประกอบพื้นฐานของอาคาร เช่น ลิฟท์ บันได
·       Home Plans เป็นผังสำหรับการติดตั้งอุปกรณ์ภายในและภายนอกบ้าน โดยจะคล้ายกับ Floor Plans แต่จะมีสเตนซิลเพิ่มเข้ามา เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า (Appliances) ห้องน้ำห้องครัว (Bath and Kitchen)
·       HVAC Control Logic Diagrams เป็นผังแสดงทาง Logic ของการติดตั้งระบบความร้อน ระบบระบายอากาศ การไหลของแอร์
·       HVAC Plans เป็นผังแสดงลักษณะทางกายภาพของการติดตั้งระบบความร้อน ระบบระบายอากาศ การไหลของแอร์
·        Office layouts เป็นผังแสดงการติดตั้งเฟอร์นิเจอร์ภายในห้อง
·       Plant layouts เป็นผังสำหรับการออกแบบบริเวณรอบๆโรงงาน
·       Plumbing and Piping plans เป็นผังการวางระบบความร้อนความเย็น,ประปา
·       Reflected ceiling plans เป็นผังการติดตั้งอุปกรณ์บนเพดานที่จะส่งผลกระทบต่อบริเวณนั้นๆ
·       Security and access plans เป็นผังการติดตั้งระบบความปลอดภัย
·       Site plans เป็นแบบแปลนทางภูมิสถาปัตย์ เช่น ลาดจอดรถ การออกแบบสวน วิวด้านหน้าอาคาร
·       Space plans เป็นผังการจัดวางบริหารพื้นที่ว่าง
Business Process
          เป็นผังงานที่ใช้ในกระบวนการทางธุรกิจ ดังนี้
·       Audit Process เป็นผังกระบวนการตรวจสอบเกี่ยวกับการจัดการด้านการเงิน บัญชี
·       Cause and Effect Process เป็นผังงานแสดงสาเหตุและผมที่เกิดขึ้น
·       Fault tree analysis diagrams เป็นผังที่ใช้บ่งชี้ และประเมินความเสี่ยง ในการการหาต้นเหตุของการเกิดปัญหา โดยใช้เหตุผลทางตรรกยะ คือ และ หรือ โดยจะเริ่มจากปัญหาและพิจารณาไปถึงต้นเหตุแต่ละระดับ
·       EPC Diagram ย่อมาจาก Event Driven Process Chain เป็นไดอะแกรมสำหรับแสดงการทำงานบางอย่างจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พบได้ในกระบวนการ SAP
·       IQM Diagram ย่อมาจาก Total Quality Management Diagram เป็นผังระบบการจัดการคุณภาพขององค์กรที่เน้นให้ทุกหน่วยงานในองค์กรมีส่วนร่วม โดยมีจุดมุ่งหมายในการสร้างผลกำไรในระยะยาวด้วยการสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า

       Work Flow Diagram เป็นผังแสดงขั้นตอนต่างๆ ในขบวนการทำงานในแผนกต่างๆขององค์กร
           
     


                                                                  รูปภาพที่ 2.12 แสดง Work Flow Diagram
 
Charts and Graphs
          เป็นไดอะแกรมสำหรับสร้างแผนภูมิและกราฟ มีเทมเพลตให้เลือก 2 แบบคือ
·       Charts and Graphs เป็นแผนภูมิและกราฟ เช่น รายงานทางการเงินและการขาย สถานะกำไร-ขาดทุน งบประมาณ การวิเคราะห์สถิติ
·       Marketing chart and Diagrams เป็นไดอะแกรมสำหับแสดงข้อมูลด้านการตลอดโดยเฉพาะ
Database Diagram
         เป็นไดอะแกรมที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบฐานข้อมูล มีเทมเพลตให้เลือกใช้คือ
·       Database Model Diagrams เป็นไดอะแกรมสำหรับสร้างโมเดลฐานข้อมูลทั่วไป
·       Express-G Diagrams เป็นไดอะแกรมสำหรับสร้างโมเดลฐานข้อมูลโดยใช้ Express-G
·       ORM Diagram เป็นไดอะแกรมสำหรับสร้างโมเดลฐานข้อมูลโดยใช้ ORM
Electrical Engineering
          เป็นไดอะแกรมเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า และอิเล็นทรอนิกส์ มีเทมเพลตให้เลือกใช้ดั้งนี้
·       Basic Electrical เป็นไดอะแกรมวงจรไฟฟ้าสำหรับใช้งานทั่วไป ไดอะแกรมที่เกี่ยวข้องกับสวิทช์และรีเลย์ (Switches and Relays) ระบบการส่งข้อมูล อุปกรณ์จำพวกเซมิคอนดักเตอร์
·       Industrial control Systems เป็นไดอะแกรมสำหรับระบบควบคุมภายในโรงงาน           
·    System เป็นไดอะแกรมระบบการส่งข้อมูล (Transmission Path) ระบบการสื่อสารไร้สาย (VHF,UHF,SHF)



                                                                              ภาพที่ 2.13 Charts and Graphs


Flow chart Diagram
         เป็นโฟวชาร์ทสำหรับสร้างขบวนการทำงานต่างๆ (แต่ถ้าเป็นโฟวชาร์ททางด้านธุรกิจจะอยู่ในกลุ่ม Business Process อยู่แล้ว) มีเทมเพลตให้เลือกใช้ดังนี้
·       Basic Flowcharl เป็นโฟวชาร์ทพื้นฐาน เช่น การไหลของข้อมูลแบบบนลงล่าง (Top-Down Diagram)การวางแผนโครงการ
·       Cross Functional Flowchart เป็นโฟวชาร์ทที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างขบวนการกับบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ้งจะแสดงเป็นส่วนๆ ทางแนวตั้งหรือแนวนอน
·       Data Flow Diagram เป็นโฟวชาร์ทแสดงการไหลของข้อมูลขององค์กร
·       IDEFO Diagram เป็นไดอะแกรมสำหรับอธิบายการปรับปรุงกระบวนการต่างๆ
·       SDL Diagram ย่อมาจาก Specification and Description Language Diagram เป็นไดอะแกรมกำหนดลักษณะของระบบเบื้องต้น ก่อนเริ่มทำงานออกแบบระบบจริงๆ



                                                                                   ภาพที่ 2.14 Flow chart Diagram


Mechanical Engineering
          เป็นไดอะแกรมที่เกี่ยวกับเครื่องจักรกล
·       Fluid Power
·       Part and Assembly Drawing



                                                                                 ภาพที่ 2.15 Flow chart Diagram


Network
          เป็นไดอะแกรมที่นำไปใช้ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เครือข่ายระบบการสื่อสาร มีเทมเพลตให้เลือกใช้ ดังนี้
·       Active Directory (มีในเฉพาะ Visio Professional) เป็นไดอะแกรมแสดงรายละเอียดของบริการ       ต่างๆ ที่อยู่บน Active Directory
·       Basic Network Diagram ใช้ในการออกแบบระบบเครือข่ายขององค์กร หรือ ใช้ค้นหาอุปกรณ์ต่อ       เชื่อมต่างๆ ในระบบเครือข่าย
·       Detailed Network Diagram (มีในเฉพาะ Visio Professional) ใช้แสดงการไหลของระบบเครือข่าย   สายเคเบิล อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่างๆ
·       LDAP directory Diagrams (มีในเฉพาะ Visio Professional) เป็นไดอะแกรมของโปรโตคอล   LDAP
·       Novell Service Diagrams (มีในเฉพาะ Visio Professional) เป็นไดอะแกรมแสดงรายละเอียดของ   บริการต่างๆ ที่มีอยู่บน  Novell Directory
·       Rack Diagram (มีในเฉพาะ Visio Professional) ใช้แสดงการติดตั้งอุปกรณ์บนตู้ Rack

Organization Chart
       เป็นไดอะแกรมแสดงความเกี่ยวโยงกันในด้านตำแหน่งของบุคลากรในองค์กร




                                                                         ภาพที่ 2.16 แสดงแผนภูมิการจัดองค์กร


Process Engineering
      (มีในเฉพาะ Visio Professional) มีเทมเพลตให้เลือก 2 แบบ ดังนี้
·       Piping and instrumentation diagrams เป็นไดอะแกรมที่ใช้แสดงระบบท่อ และกระบวนการในการ     ผลิต
·       Process flow diagrams เป็นไดอะแกรมแสดงระบบท่อ



                                                             ภาพที่ 2.17 ไดอะแกรมที่ใช้แสดงระบบท่อ
    
 Project  Diagram
       เป็นไดอะแกรมสำหรับงานที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของโครงการ การประมาณการเวลา ลำดับการทำงานเพื่อใช้สำหรับการวางแผน การวิเคราะห์ ประมาณเวลาในการทำโครงการ
·       Calendar เป็นรูปปฏิทิน
·       Gantt Chart เป็นชาร์ทแสดงระยะเวลาของงานย่อยๆ (Task) ของทั้งโปรเจ็กต์
·       PERT Charts ย่อมาจาก Program Evaluation Review Technique เป็นชาร์ทกับโครงงานที่ยัง     ไม่เคยทำมาก่อนและเป็นโครงงานที่ไม่สามารถกำหนดเวลาในการทำงานได้แน่นอน ดังนั้นจึงใช้ความ   น่าจะเป็นช่วยในการประมาณเวลาในการทำงานแต่ละอย่าง เพื่อหาเวลาที่เป็นไปได้มากที่สุดของ         แต่ละงาน
·       Timeline เป็นรูปแบบของโครงการที่มีเส้นเวลา
Software Diagrams
        (มีในเฉพาะ Visio Professional) เป็นไดอะแกรมสำหรับใช้สร้างมิโมเดลซอฟต์แวร์ก่อนลงมือสร้างจริง
·       Com and OLE เป็นไดอะแกรมที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูลและการเชื่อมต่อฐานข้อมูล
·       Data Flow Model Diagrams เป็นไดอะแกรมแสดงเส้นทางไหลของข้อมูล
·       Enterprise application Diagrams เป็นไดอะแกรมที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างของแอพพลิเคชั่น
         ขนาดใหญ่
·       Jackson เป็นไดอะแกรมแสดงโครงสร้างของโปรแกรม โครงสร้างข้อมูล โครงสร้างของเน็ตเวิร์ค
·       Program Structure เป็นไดอะแกรมสถาปัตยกรรมและการไหลข้อมูลของแอพพลิเคชั่น
·       ROOM เป็นไดอะแกรมแสดงโครงสร้างของแอพพลิเคชั่น ทั้งเรื่ององค์ประกอบของโปรแกรม             (Structure Diagram) และหน้าที่ของแต่ละองค์ประกอบ (Behavior Diagram)
·       UML Model Diagram เป็นไดอะแกรมสำหรับสร้างโมเดล UML (Unified Modeling Language)
·       Windows XP User Interface เป็นไดอะแกรมสำหรับออกแบบแอพพลิเคชั่น โดยใช้อินเตอร์เฟส       แบบ windows XP

Web Diagram
     (มีในเฉพาะ Visio Professional) เป็นดะแกรมสำหรับกำหนดโครงสร้างของเว็บไซต์ มีเทมเพลตให้เลือก 2 แบบคือ
·       Conceptual Web Site เป็นไดอะแกรมแสดงโครงร่างของเว็บไซต์
·       Web Site Map เป็นโครงร่างของเว็บไซต์ที่เกิดจากคิวรีข้อมูลเว็บไซต์บนอินเทอร์เน็ต คือ เราสามารถ     ทราบได้ว่า site map ของเว็บที่เราต้องการวิเคราะห์เป็นอย่างไร
         
                        

                                                                                 ภาพที่ 2.18 Conceptual Web Site
 
2.3 ผังงาน (Flowchart Diagram)
     ความหมายของผังงาน 
ผังงาน (Flowchart) คือ รูปภาพ (Image) หรือสัญลักษณ์(Symbol) ที่ใช้เขียนแทนขั้นตอน คำอธิบาย ข้อความ หรือคำพูด ที่ใช้ในอัลกอริทึม (Algorithm) เพราะการนำเสนอขั้นตอนของงานให้เข้าใจตรงกัน ระหว่างผู้เกี่ยวข้อง ด้วยคำพูด หรือข้อความทำได้ยากกว่า 
    ผังงานแบ่งได้ 2 ประเภท 
1. ผังงานระบบ (System Flowchart) 
คือ ผังงานที่แสดงขั้นตอนการทำงานในระบบอย่างกว้าง ๆ แต่ไม่เจาะลงในระบบงานย่อย 
2. ผังงานโปรแกรม (Program Flowchart) 
คือ ผังงานที่แสดงถึงขั้นตอนในการทำงานของโปรแกรม ตั้งแต่รับข้อมูล คำนวณ จนถึงแสดงผลลัพธ์ 
    ประโยชน์ของผังงาน 
1. ทำให้เข้าใจ และแยกแยะปัญหาได้ง่าย (Problem Define) 
2. แสดงลำดับการทำงาน (Step Flowing) 
3. หาข้อผิดพลาดได้ง่าย (Easy to Debug) 
4. ทำความเข้าใจโปรแกรมได้ง่าย (Easy to Read) 
5. ไม่ขึ้นกับภาษาใดภาษาหนึ่ง (Flexible Language) 

 


                                                                 ภาพที่ 2.19 แสดงผังงาน (Flowchart Diagram)
 


                                    ภาพที่ 2.20 แสดงเชพในสเตนซิล Basic Flowchart Shapes ใช้สำหรับ     สร้างโฟร์ชาร์ท



การเขียนโปรแกรมแบบมีโครงสร้าง หรือ การเขียนโปรแกรมโครงสร้าง ประกอบด้วยอะไรบ้าง 
ทุกภาษาต้องมีหลักการ 3 อย่างนี้คือ การทำงานแบบตามลำดับ(Sequence) การเลือกกระทำตามเงื่อนไข(Decision) และ การทำซ้ำ(Loop) แม้ตำราหลาย ๆ เล่มจะบอกว่า decision แยกเป็น if กับ case หรือ loop นั้นยังแยกเป็น while และ until ซึ่งแตกต่างกัน แต่ก็ยังนับว่าการเขียนโปรแกรม แบบมีโครงสร้างนั้น มองให้ออกแค่ 3 อย่างก็พอแล้ว และหลายท่านอาจเถียงว่าบางภาษาไม่จำเป็นต้องใช้ Structure Programming แต่เท่าที่มีศึกษามา ยังไม่มีภาษาใด เลิกใช้หลักการทั้ง 3 นี้อย่างสิ้นเชิง เช่น MS Access ที่หลายคนบอกว่าง่าย ซึ่งก็อาจจะง่ายจริง ถ้าจะศึกษาเพื่อสั่งให้ทำงานตาม wizard หรือตามที่เขาออกแบบมาให้ใช้ แต่ถ้าจะนำมาใช้งานจริง ตามความต้องการของผู้ใช้แล้ว ต้องใช้ประสบการณ์ในการเขียน Structure Programming เพื่อสร้าง Module สำหรับควบคุม Object ทั้งหมดให้ทำงานประสานกัน
1. การทำงานแบบตามลำดับ
(Sequence)
รูปแบบการเขียนโปรแกรมที่ง่ายที่สุดคือ เขียนให้ทำงานจากบนลงล่าง เขียนคำสั่งเป็นบรรทัด และทำทีละบรรทัดจากบรรทัดบนสุดลงไปจนถึงบรรทัดล่างสุด สมมติให้มีการทำงาน 3 กระบวนการคือ อ่านข้อมูล คำนวณ และพิมพ์
2. การเลือกกระทำตามเงื่อนไข
(Decision or Selection)
การตัดสินใจ หรือเลือกเงื่อนไขคือ เขียนโปรแกรมเพื่อนำค่าไปเลือกกระทำ โดยปกติจะมีเหตุการณ์ให้ทำ 2 กระบวนการ คือเงื่อนไขเป็นจริงจะกระทำกระบวนการหนึ่ง และเป็นเท็จจะกระทำอีกกระบวนการหนึ่ง แต่ถ้าซับซ้อนมากขึ้น จะต้องใช้เงื่อนไขหลายชั้น เช่นการตัดเกรดนักศึกษา เป็นต้น ตัวอย่างผังงานนี้ จะแสดงผลการเลือกอย่างง่าย เพื่อกระทำกระบวนการเพียงกระบวนการเดียว
3. การทำซ้ำ
(Repeation or Loop)
การทำกระบวนการหนึ่งหลายครั้ง โดยมีเงื่อนไขในการควบคุม หมายถึงการทำซ้ำเป็นหลักการที่ทำความเข้าใจได้ยากกว่า 2 รูปแบบแรก เพราะการเขียนโปรแกรมแต่ละภาษา จะไม่แสดงภาพอย่างชัดเจนเหมือนการเขียนผังงาน ผู้เขียนโปรแกรมต้องจินตนาการด้วยตนเอง
ทำความเข้าใจกับผังงานก่อนลงมือเขียน
หน้าที่ของผังงาน คือ การนำเสนอกระบวนการ (Process) ในขอบเขตจำกัด ให้เข้าใจว่าหากรับข้อมูลเข้า (Input) แล้วจะประมวลผลอย่างไร จึงได้ออกมาเป็นผลลัพธ์ (Output) ในอดีตการเขียนโปรแกรม หรือกระบวนการไม่ซับซ้อน การมองภาพว่า input - process - output สามารถอยู่ในผังงานเดียวกันก็ทำได้ จึงนิยมใช้เป็นเครื่องมือสร้างทักษะให้กับผู้เริ่มต้นในการมองการประมวลผลของระบบทีละขั้นตอน
ปัจจุบันการประมวลผล จะรับข้อมูล แล้วประมวลผล ส่งผลไปเป็นข้อมูลของอีกกระบวนการหนึ่ง อาจทำอย่างนี้อีกหลายรอบ ด้วยกระบวนการ และข้อมูลที่ต่างกัน การใช้ผังงานจึงได้รับความนิยมลดลงในการใช้แสดงแบบซอฟท์แวร์ขนาดใหญ่ เนื่องจากการประมวลผลมีความซับซ้อนมากขึ้น ปัจจุบันมีการใช้ Data Flow Diagram หรือ UML มาแสดงแบบซอฟท์แวร์ที่มองได้กว้างและครอบคลุมกว่า 
+ Process = ประมวลผล
+ Procedure = กระบวนการ





   

                                                             ภาพที่ 2.3.3 แสดงการประมวลโดยใช้หลักการแยกองค์ประกอบ


การเขียนผังงานในการทำงาน
+ ผังงาน เป็นเครื่องมือสำหรับวาดภาพ 2 มิติ นำเสนอขั้นตอนการดำเนินการ มักใช้ในการแสดงแบบโปรแกรมที่ไม่ซับซ้อนมากนัก ต่อมาก็มีการประยุกต์ใช้แสดงขั้นตอนการทำงานของส่วนงานต่าง ๆ เพราะสัญลักษณ์ในแผนภาพช่วยในการอธิบายการทำงานแบบมีเงื่อนไขได้ดีกว่าการเขียนเชิงพรรณา
+ แผนผังนี้สื่อว่าการดำเนินการหลังได้มีการออกระเบียบ ประกาศ คำสั่งนั้น มีหลายแนวทางในการนำเข้าระบบฐานข้อมูล หรือไม่นำเข้าระบบก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของเจ้าของเรื่อง หากนำเข้าระบบซึ่งเป็นฐานข้อมูลภายใน ก็เลือกได้อีกว่าจะเผยแพร่โดยบุคคลที่เกี่ยวข้องหรือไม่ แสดงให้เห็นว่ามีทั้งระบบแลกลไกที่เข้ามาเกี่ยวข้องในผังงานนี้












ภาพที่ 2.3.4 แสดง flowchart_doc_sys.pptx


ภาพที่ 2.3.5 แสดงเกณฑ์การวัดประเมินผลการเรียน
 













การเขียนผังงาน
โจทย์ที่ 1 
- พิมพ์เลข 0 ถึง 4 ทางจอภาพ 
ตัวอย่างผังงาน

                                                              


ภาพที่ 2.3.6 แสดงตัวอย่างผังงานโจทย์ที่ 1
 


โจทย์ที่ 2                                              
- รับค่าจากแป้นพิมพ์เก็บลงตัวแปรอาร์เรย์ 5 ตัว
                                                - แล้วทำซ้ำอีกครั้ง เพื่อหาค่าสูงสุ
                                                                        
ตัวอย่างผังงาน



                                                                                                                                                                                








ภาพที่ 2.3.7 แสดงตัวอย่างผังงานโจทย์ที่ 2
 









โจทย์ที่ 3

- พิมพ์พีระมิดของตัวเลขดังตัวอย่าง
Source Code
<?
$i = 1;
while ($i <= 5){
$j = 1;
while ($j <= $i) {
echo $j;
$j++;
}
echo "<br>";
$i++;
}
?>

 
 
 
 
 

                             
 
 
 
 
 
 
 
 

 
  
  

ภาพที่ 2.3.8 แสดงโจทย์ที่ 3
 
 

Source Code
#include <iostream.h>
#include <conio.h>
void main() {
for(int i=1;i<=5;i++) {
for(int j=1;j<=i;j++) {
cout << j;
}
cout << "end" << '\n';
}

 
getch();
}











ภาพที่ 2.3.9 แสดงโจทย์ที่ 3
              







Dia - Diagram Drawing ใน ซีดีจันทรา บล็อก : ดาวน์โหลด : บนแฟรชไดร์ฟ 21 MB : UML by dia : ซีดีจันทรา
+ Dia (ไดอะ) เป็นโปรแกรมวาดภาพกราฟฟิกส์แบบเวกเตอร์ที่ออกแบบมา เพื่อให้ใช้ในการ เขียนไดอะแกรมโดยเฉพาะ สามารถเขียนไดอะแกรมได้หลายชนิดอย่างรวดเร็ว Dia มี ชุดออปเจคที่ช่วยในการวาด Entity Relationship Diagram, UML Diagram, Flowchart Diagram, Network Diagram ,วงจรไฟฟ้าอย่างง่าย ๆ รวมถึงไดอะแกรมอื่น นอกจากนี้ Dia ยังสามารถเพิ่มชุดออปเจคได้ด้วยการเขียนไฟล์ XML
+ Dia รุ่น 0.97.2 สามารถใช้งานผ่าน 
Flash Drive โดยไม่ต้องติดตั้ง เรียกใช้ได้ทันที


                         

ภาพที่ 2.3.9 ภาพ  Dia - Diagram Drawing 
 




2.4 วิธีการวางหรือแทรกรูปวาด Visio ลงในโปรแกรม Office อื่นๆ

ใน Microsoft Office Visio 2007, Microsoft Office Visio 2003 และ Microsoft Visio 2002 คุณสามารถใช้คำสั่งที่เลือกโดยเรียงตามชนิดใน Microsoft Visio 2000 คุณสามารถใช้คำสั่งพิเศษที่เลือก การใช้คำสั่งที่เลือกโดยเรียงตามชนิดหรือคำสั่งพิเศษที่เลือกให้ทำตามขั้นตอนเหล่านี้:
1.      เริ่มการทำงานของ Visio และจากนั้น เปิดรูปวาดของคุณ
2.      บนเมนูแก้ไขใน Visio 2007, Visio 2003 หรือ Visio 2002 คลิกเลือกโดยเรียงตามชนิด หรือ คลิกเลือกพิเศษใน Visio 2000

ใน Visio 2010 บนแท็บหน้าแรกในกลุ่มการแก้ไขคลิกเลือกแล้ว คลิ กเลือกโดยเรียงตามชนิด
3.      ในกล่องโต้ตอบเลือกโดยเรียงตามชนิดหรือกล่องโต้ตอบตัวเลือกพิเศษทำหนึ่งในขั้นตอนต่อไปนี้:
o    คลิกชนิดของรูปร่าง แล้วคลิกเพื่อเลือก หรือคลิกเพื่อยกเลิกเลือกกล่องกาเครื่องหมายต่อไปนี้อย่างน้อยหนึ่ง:
§  รูปร่าง
§  กลุ่ม
§  เส้นบอกแนว
§  วัตถุ OLE
§  แฟ้ม Metafile
§  บิตแมป
นอกจากนี้ ชนิดรูปร่างดังต่อไปนี้จะพร้อมใช้งานใน Visio 2003:
§  วัตถุหมึก
o    คลิกชั้นจากแล้ว คลิกเพื่อเลือกกล่องกาเครื่องหมายที่อยู่ถัดจากชั้นหรือชั้นที่คุณต้องการ
4.      คลิก ตกลง
5.      บนเมนูแก้ไขคลิกคัดลอก
ใน Visio 2010 บนแท็บหน้าแรกในกลุ่มคลิปบอร์ดคลิกคัดลอก
6.      สลับไปยังแฟ้มปลายทางที่คุณต้องการวางวัตถุ Visio
ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณต้องการวางวัตถุ Visio ลงในเอกสาร Microsoft Word เริ่มต้น Word และจากนั้น เปิดเอกสารที่คุณต้องการวางวัตถุ Visio
7.      บนเมนูแก้ไขคลิกวางหรือวางแบบพิเศษเมื่อต้องการแทรกวัตถุ Visio
ใน Visio 2010 บนแท็บหน้าแรกในกลุ่มคลิปบอร์ดคลิกวางหรือวางแบบพิเศษเมื่อต้องการแทรกวัตถุVisio
วิธีที่ 1: ใช้คำสั่ง Select คำสั่งชนิดหรือคำสั่งพิเศษที่เลือก
การใช้คำสั่งที่เลือกทั้งหมดให้ทำตามขั้นตอนเหล่านี้:
1.      เริ่มการทำงานของ Visio และจากนั้น เปิดรูปวาดของคุณ
2.      บนเมนูแก้ไขคลิกเลือกทั้งหมด
ใน Visio 2010 บนแท็บหน้าแรกในกลุ่มการแก้ไขคลิกเลือกแล้ว คลิกเลือกทั้งหมด 
3.      สลับไปยังแฟ้มปลายทางที่คุณต้องการวางวัตถุ Visio
ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณต้องการวางวัตถุ Visio ลงในเอกสาร Word เริ่มต้น Word และจากนั้น เปิดเอกสารที่คุณต้องการวางวัตถุ Visio
4.      บนเมนูแก้ไขคลิกวางหรือวางแบบพิเศษเมื่อต้องการแทรกวัตถุ Visio
ใน Visio 2010 บนแท็บหน้าแรกในกลุ่มคลิปบอร์ดคลิกวางหรือวางแบบพิเศษเมื่อต้องการแทรกวัตถุ Visio
วิธีที่ 2: ใช้คำสั่งที่เลือกทั้งหมด
การใช้คำสั่งคัดลอกวาดให้ทำตามขั้นตอนเหล่านี้:
1.      เริ่มการทำงานของ Visio และจากนั้น เปิดรูปวาดของคุณ
2.      ตรวจสอบให้แน่ใจว่า ไม่มีสิ่งใดที่เลือกไว้ใน Visio
3.      บนเมนูแก้ไขคลิกรูปวาดสำเนา
ใน Visio 2010 บนแท็บหน้าแรกในกลุ่มคลิปบอร์ดคลิกคัดลอก
คำสั่งนี้คัดลอกหน้าของภาพวาดที่คุณกำลังดูอยู่
4.      สลับไปยังแฟ้มปลายทางที่คุณต้องการวางวัตถุ Visio
ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณต้องการวางวัตถุ Visio ลงในเอกสาร Word เริ่มต้น Word และจากนั้น เปิดเอกสารที่คุณต้องการวางวัตถุ Visio
5.      บนเมนูแก้ไขคลิกวางหรือวางแบบพิเศษเมื่อต้องการแทรกวัตถุ Visio
ใน Visio 2010 บนแท็บหน้าแรกในกลุ่มคลิปบอร์ดคลิกวางหรือวางแบบพิเศษเมื่อต้องการแทรกวัตถุ Visio
วิธีที่ 3: ใช้คำสั่งรูปวาดของสำเนา
การบันทึกแบบ Visio เป็นแฟ้มกราฟิก ให้ทำตามขั้นตอนเหล่านี้:
1.      เริ่มการทำงานของ Visio และจากนั้น เปิดรูปวาดของคุณ
2.      เลือกวัตถุที่คุณต้องการคัดลอก
หมายเหตุ ถ้าคุณต้องการคัดลอกหน้ารูปวาดทั้งหมด ตรวจสอบให้แน่ใจว่า ไม่มีวัตถุที่ถูกเลือกใน Visio คุณวาด ถ้าคุณเลือกวัตถุรูปวาดของคุณ วัตถุที่คุณเลือกปรากฏในไฟล์รูปภาพเป็นผลลัพธ์
3.      บนเมนูแฟ้มคลิกบันทึกเป็น
4.      ในรายการบันทึกเป็นชนิดชนิดของแฟ้มกราฟิกที่คุณต้องการคลิก และจากนั้น คลิกบันทึก

ชนิดแฟ้มรูปภาพต่อไปนี้เป็นคำต่าง ๆ Visio 2007visio 2003, Visio 2002 และ Visio 2000 ชนิดแฟ้มรูปภาพเหล่านี้โดยทั่วไปแสดงไว้ในนั้นบันทึกเป็นชนิดกล่อง:
o    Enhanced Metafile (* .emf)
o    รูปแบบการแลกเปลี่ยนกราฟิก (*.gif)
o    รูปแบบแลกเปลี่ยนแฟ้ม JPEG (*.jpg)
o    กราฟิกเครือข่ายแบบพกพา (*.png)
o    แท็กรูปแบบไฟล์ (*.tif)
o    บีบอัดแฟ้ม Enhanced Metafile (*.emz)
o    บิตแมปของ Windows (*.bmp; *.dib)
o    Windows Metafile (*.wmf)
ใน Visio 2010, Visio 2007 และ Visio 2003 ชนิดของแฟ้มกราฟิกต่อไปนี้อยู่นอกเหนือจากชนิดของแฟ้มกราฟิกทั่วไป:
o    ปรับขนาดกราฟิกแบบเวกเตอร์ - การบีบอัด (*.svgz)
o    กราฟิกแบบเวกเตอร์ที่สามารถต่อขยาย (*.svg)
ใน Visio 2002 และ Visio 2000 ชนิดของแฟ้มกราฟิกต่อไปนี้อยู่นอกเหนือจากชนิดของแฟ้มกราฟิกทั่วไป:
o    รูปแบบของรูป Macintosh (*.pct)
o    บิตแมปของ PC Paintbrush Zsoft (*.pcx)
o    Adobe Illustrator แฟ้ม (* .ai)
o    Computer Graphics Metafile (* .cgm)
o    แฟ้ม PostScript สรุป (*.eps)
o    แฟ้มโพสต์สคริปต์ (* .ps)
o    รูปแบบแฟ้มรูปวาด IGES (*.igs)
หมายเหตุ เมื่อคุณส่งออกรูปร่าง หรือรูปวาด โดยใช้กล่องโต้ตอบ'บันทึกเป็น', มีตัวเลือกแสดงผลกล่องโต้ตอบอาจปรากฏขึ้นเพื่อให้คุณสามารถระบุการตั้งค่าที่คุณต้องการสำหรับแฟ้มส่งออก ตัวเลือกที่ปรากฏในกล่องโต้ตอบตัวเลือกการแสดงผลขึ้นอยู่กับรูปแบบแฟ้มกราฟิกที่คุณใช้อยู่
5.      สลับไปยังแฟ้มปลายทางที่คุณต้องการวางวัตถุ Visio
ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณต้องการวางวัตถุ Visio ลงในเอกสาร Word เริ่มต้น Word และจากนั้น เปิดเอกสารที่คุณต้องการวางวัตถุ Visio
6.      บนเมนูแทรกชี้ไปที่รูปภาพและจากนั้น คลิกจากแฟ้ม
ใน Visio 2010 บนแทรกแท็บ ในกลุ่มภาพประกอบคลิกรูปภาพ เลือกแฟ้มกราฟิกที่คุณบันทึกไว้จาก Visio และจากนั้น คลิกแทรก
ใน Visio 2010 คลิกเปิด
หมายเหตุ
 วิธีนี้รักษารูปแบบของรูปร่าง ข้อความ และเติม อย่างไรก็ตาม คุณสมบัติชั้นจะไม่คงไว้ ตัวอย่างเช่น ถ้ารูปร่างนั้นอยู่บนชั้นที่ซ่อนอยู่ รูปร่างที่ไม่ได้ปรากฏให้เห็นเมื่อคุณแทรกแฟ้มกราฟิก
วิธีที่ 4: บันทึก Visio วาดเป็นไฟล์รูปภาพ
วิธีนี้ใช้ได้เฉพาะกับ Visio 2000 เมื่อต้องการติดตั้ง และใช้ปุ่มแทรกรูปวาด Visio ให้ทำตามขั้นตอนเหล่านี้
1.      เมื่อต้องการติดตั้งปุ่มแทรกรูปวาด Visioบนแถบเครื่องมือใน Word, Microsoft Excel Microsoft PowerPoint และเรียกใช้โปรแกรมแทรกปุ่ม Visio โดยทั่วไป โปรแกรมนี้จะอยู่ในโฟลเดอร์ต่อไปนี้:
C:\Program Files\Microsoft Visio\System\Custom
2.      เมื่อต้องการใช้ปุ่ม คลิกแทรกรูปวาด Visioและจากนั้น คลิกเรียกดูแม่แบบในกล่องโต้ตอบชนิดรูปวาดที่เลือก
3.      ในกล่องโต้ตอบการเลือกเท็มเพลรูปวาดคลิกรูปวาด (*.vsd)ภายใต้ชนิดแฟ้ม คลิกรูปวาดที่คุณต้องการนำเข้า และจากนั้น คลิกเปิด



2.5 การเชื่อมต่อเครือข่าย

การเชื่อมต่อเครือข่ายขนาดเล็กด้วย ADS Modern


ภาพที่ 2.4.1 แสดงการเชื่อมต่อเครือข่ายขนาดเล็กด้วย ADS Modern

 




ภาพด้านบนทำจากโปรแกรม Visio 2003


ภาพที่ 2.4.2 ภาพแสดงเครือข่ายที่ทำจากโปรแกรม Visio
 

     
      การเชื่อต่อแบบนี้เป็นการติดต่อที่ง่ายที่สุดและถูกที่สุด ในการสร้างเครือข่ายระบบนั้นเราเพียงกำหนดแค่สองส่วน คือ “IP Address” ของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน แล้วเชื่อมต่อ          ด้วย Hub กับ Switch โดยจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งที่ต่อกับโมเด็มอยู่แล้ว เป็นเครื่องที่เชื่อมต่อไปยัง   เครือข่ายอินเทอร์เน็ต แล้วทำการเปิดบริการ Internet Connection Sharing (ICS) เพื่อทำการแชร์อินเทอร์เน็ตให้เครื่องลูกข่ายภายในเวิร์กกรุ๊ป (Workgroup) เดียวกัน การเชื่อมต่อลักษณะนี้เหมาะสมสำหรับองค์การที่มีแผนกเดียว


การเชื่อมต่อเครือข่ายขนาดกลางด้วย ADSL Router




ภาพที่ 2.4.3 แสดงการเชื่อมต่อเครือข่ายขนาดกลางด้วย ADSL Router




ภาพที่ 2.4.4 ทำจากโปรแกรม Packet Tracer 5.1

      การเชื่อมต่อเครือข่ายขนาดกลางด้วย ADSL Routerเป็นระบบเครือข่ายที่มีเครื่องลูกข่ายจำนวนมาก และอาจมีการแบ่งเครือข่ายเป็นส่วนย่อย ๆตัวอย่างเช่น ระบบธนาคารบริษัทปูนซีเมนต์ไทย ,บริษัทการบินไทย ,บริษัทไอบีเอ็ม,กรมสรรพากรเป็นต้น ในการออกแบบระบบเครือข่ายแบบนี้จะมีความสลับซับซ้อนมากและคำนึงถึงระบบความปลอดภัยเป็นหลัก

การออกแบบระบบเครือข่ายขนาดใหญ่โดยใช้ Router


ภาพที่ 2.4.5 แสดงการออกแบบระบบเครือข่ายขนาดใหญ่โดยใช้ Router ทำจากโปรแกรม Visio 2003

ภาพที่ 2.4.6 ทำจากโปรแกรม Packet Tracer 5.1

 

          การออกแบบระบบเครือข่ายนั้นก็ขึ้นอยู่ว่าผู้ว่าผู้ดูแลระบบเข้าทำงานในบริษัทขนาดใดในขั้นนี้คิดว่าคงพอมองภาพเกี่ยวกับการออกแบบระบบเครือข่ายขนาดต่างๆกันแล้วโดยในการออกแบบระบบเครือข่ายนั้นผู้ดูแลระบบควรศึกษาและรู้จักสัญญาลักษณ์ต่างๆในระบบเครือข่ายกันว่าเขาใช้สัญญาลักษณ์อย่างไรกันบ้างสำหรับในรูปที่ผ่านมาจะเห็นว่าผู้เขียนยังไม่วาง Firewall และ IDS โดยในส่วนนี้จะกล่าวอีกครั้งในขั้นตอนสุดท้ายคือขั้นตอนที่ 10โปรแกรมที่นิยมในการออกแบบระบบเครือข่ายในปัจจุบันคือ Microsoft Visio โดยใน Visio จะมีสัญญาลักษณ์ในการออกแบบระบบเครือข่ายอย่างครบครันในฐานะเป็นผู้ดูแลระบบเครือข่าย จำเป็นต้องศึกษาและใช้งานเครื่องมือตัวนี้ให้คล่องเช่นกัน

2.6 การใช้งานเลเยอร์และสไตล์

               ความหมายของเลเยอร์
                      เลเยอร์ (Layer) เป็นการซ้อนภาพเหมือนกับนำแผ่นใสมีภาพซ้อนทับกันเป็นชั้นๆ ซึ่งบริเวณของแผ่นใสที่ไม่มีรูปก็จะสามารถมองเห็นทะลุถึงแผ่นใสที่อยู่ชั้นล่างได้ แลเมื่อนำทุกแผ่นทุกั้นมาวางซ้อนทับกัน จะทำให้เกิดเป็นรูปภาพที่สมบูรณ์ การใช้เลเยอร์จะช่วยให้เราจัดวางงานได้ง่าย เนื่องจากแต่ละเลเยอร์ทำงานเป็นอิสระต่อกันมีคุณสมบัติต่างๆเป็นของตนเอง จึงทำให้การแก้ไขที่เราทำไดแต่ละเลเยอร์นั้นไม่ส่งผลต่อเลเยอร์อื่นๆ

            
            ประโยชน์ของเลเยอร์
                       สำหรับเลเยอร์ในโปรแกรม Visio มีประโยชน์ ดังนี้
·       ช่วยให้เราสามารถสร้างงานได้หลายชิ้น ในไฟล์ๆ เดียว
·       แยกเป็นเลเยอร์ๆ แล้วใช้วิธีการเปิด/ปิดเลเยอร์ที่ต้องการเท่านั้น เพื่อใช้สำหรับการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมที่สุดก่อนการทำงานจริง
·       เลเยอร์ที่วาดเชพอุปกรณ์ที่สมบูรณ์แล้ว เราสามารถล็อคทั้งเลเยอร์ เพื่อป้องกันการแก้ไขโดยไม่ตั้งใจในภายหลังได้
·       ช่วยในการนำเสนอ ให้เห็นลำดับขั้นการทำงานตั้งแต่เริ่มต้น โดยใช้วิธีแยกแต่ละลำดับขั้นเป็นเลเยอร์เรียงลำดับกันไป แล้วทยอยเปิดทีละเลเยอร์ สำหรับแสดงขั้นตอนแต่ละขั้นไปเรื่อยๆ จนถึงขั้นตอนที่สมบูรณ์ที่เปิดเลเยอร์ทุกเลเยอร์

   การทำงานกับเลเยอร์
       ปกติเลเยอร์ในโปรแกรม Visio มักใช้กับงานออกแบบ เช่น แปลนบ้าน ออฟฟิศ โรงงาน เนื่องจากมีอุปกรณ์เป็นจำนวนมาก เช่น โต๊ะ เก้าอี้ คอมพิวเตอร์ ห้องน้ำหลายๆ ห้อง ดังตัวอย่างที่ผ่านมา เมื่อเรานำเชพเหล่านี้มาวางบนพื้นที่วาด โปรแกรม Visio จะสร้างเลเยอร์ให้กับเชพนั้นโดยอัตโนมัติ เราจะสร้างเลเยอร์ได้ดังนี้
1.      นำเชพ Room จากสเตนซิล Wall มาวางบนพื้นที่วาด
2.      คลิกที่เมนู View>Layer Properties…
3.      หน้าต่าง Layer Properties จะแสดงเลเยอร์ที่โปรแกรมสร้างขึ้น
              ลักษณะเลเยอร์ที่โปรแกรม Visio สร้างขึ้นมามักจะประกอบด้วย 2 เลเยอร์คือ เลเยอร์ของเชพที่นำเข้ามาและเลเยอร์กลุ่มงาน เลเยอร์เชพที่นำเข้ามาคือ เลเยอร์ Wall และเลเยอร์กลุ่มงานคือ เลเยอร์ Building Envelope

ซ่อนและแสดงเลเยอร์
               ถ้าชิ้นงานที่เราแก้ไขประกอบด้วยเลเยอร์จำนวนมาก เราอาจต้องซ่อนบางเลเยอร์ที่เราไม่ได้ใช้ เพื่อความสะดวกในการทำงานเมื่อเสร็จแล้วก็ให้แสดงเลเยอร์นั้นให้เห็นดังเดิม
การซ่อนเลเยอร์
1.      คลิกเอาเครื่องหมายถูกออกที่รายการ Computer และ Equipment
2.      คลิกที่ปุ่ม OK จะเห็นชุดคอมพิวเตอร์จะหายไป
การแสดงเลเยอร์
1.      คลิกให้มีเครื่องหมายถูกที่รายการ Computer และ Equipment
2.      คลิกที่ปุ่ม Apply จะเห็นชุดคอมพิวเตอร์จะแสดงกลับมาให้เห็น
ล็อคเลเยอร์
           เราล็อคบางอย่างในเลเยอร์ที่กำลังทำงานอยู่เพื่อไม่ให้ถูกแก้ไขโดยบังเอิญได้ โดยคลิกเลือกให้มีเครื่องหมายถูกในคอลัมน์ Lock ของเลเยอร์ที่ต้องการล็อค
ทำงานกับ Active Layer
          Active Layer เป็นเลเยอร์ที่เราเลือกที่จะทำงานต่อไป มักใช้กับเชพที่เราสร้างขึ้นเองโดยเฉพาะ เราจะสร้างเชพขึ้นใหม่ในเลเยอร์ Door ก็ให้เราคลิกให้มีเครื่องหมายถูกในเลเยอร์ Door ดังนี้
1.      คลิกเพื่อเลือกเลเยอร์ทำงานในที่นี้เลือกเลเยอร์ Door
2.      คลิกเมาส์ที่ OK
3.      สร้างเชพขึ้นมาจากเครื่องมือ Drawing
4.      ที่เชพที่สร้างขึ้นใหม่ คลิกขวาเลือกคำสั่ง Fomat>layer
5.      จะพบว่าเชพที่วาดขึ้นใหม่จะอยู่บนเลเยอร์ Door

การสร้างเลเยอร์ใหม่
         เราสามารถสร้างเลเยอร์ใหม่ เพื่อเป็นเลเยอร์สำหรับเก็บเชพที่เราสร้างขึ้นเองให้อยู่คนละส่วนกับเลเยอร์ที่มีอยู่เพื่อการปรับปรุงแก้ไข ดังนี้
1.      คลิกเมาส์ปุ่ม New
2.      พิมพ์ชื่อเลเยอร์ที่ต้องการ คลิกปุ่ม OK
3.      ปรากฏเลเยอร์ที่เราสร้างใหม่
การลบเลเยอร์
        เราสามารถลบเลเยอร์ที่ไม่ใช้แล้วได้ เนื่องจากการเก็บเลเยอร์ที่ไม่ใช้ไว้เยอะๆ จะเปลืองหน่วยความจำของเครื่อง ทำให้โปรแกรมทำงานช้า เราจะลองลบเลเยอร์ของเส้นโค้งในเลเยอร์ my_layer ดังรูป
1.      เลือกเลเยอร์ my_layer
2.      คลิกปุ่ม Remove
3.      คลิกเมาส์ยืนยัน Yes
4.      คลิกปุ่ม OK เลเยอร์ที่เลือกจะหายไป
การเปลี่ยนชื่อของเลเยอร์
          จากตัวอย่างที่ผ่านๆมา หากเราสังเกตเราก็จะพบว่า ชื่อของเลเยอร์ที่โปรแกรมตั้งให้นั้น จะเป็นชื่อตามสเตนซิลหรือเชพนั้นๆ หากเราต้องการเปลี่ยนเป็นชื่ออื่น หรือเพื่อให้สอดคล้องกับงานของเรา เพื่อจะได้หาเลเยอร์ที่เข้าใจได้สะดวกขึ้น วิธีการเปลี่ยนชื่อเลเยอร์ทำได้ ดังนี้

1.      เลือกเลเยอร์ my_layer
2.      คลิกปุ่ม Rename
3.      เปลี่ยนชื่อใหม่แล้วคลิกปุ่ม OK เลเยอร์ที่เลือกจะเปลี่ยนเป็นชื่อใหม่
การกำหนดสไตล์ของเราเอง
       ถ้าสไตล์ที่มีอยู่แล้วใน Visio ไม่ตรงกับที่ต้งการ เราสามารถกำหนดสไตล์ในแบบของเราเองได้ ดังนี้
1.      เลือกคำสั่ง Fomat>Define Styler
2.      ตั้งชื่อสไตล์ของเรา
3.      คลิกปุ่มText…เพื่อกำหนดลักษณะของข้อความ
4.      คลิกที่ปุ่ม Line…เพื่อกำหนดลักษณะของสีเชพ
5.      คลิกที่ปุ่ม Fill…เพื่อกำหนดลักษณะของเส้น
6.      คลิกเพื่อเพิ่มชื่อสไตล์เข้าไป
7.      คลิกปุ่ม OK
การแก้ไขสไตล์
        เราสามารถแก้ไขได้ทั้งสไตล์ที่มากับ Visio อยู่แล้วหรือสไตล์ที่กำหนดเอง โดยใช้ขั้นตอนเดียวกับการกำหนดสไตล์ที่ได้กล่าวแล้ว โดยเลือกสไตล์ที่ต้องการแก้ไข แล้วปรับค่าใหม่ในรูปแบบที่ต้องการ ดังนี้
1.      เลือกสไตล์ที่ต้องการแก้ไข
2.      ปรับค่าใหม่
3.      คลิกปุ่ม OK
การลบสไตล์
       การสั่งลบสไตล์จะทำให้เชพที่ถูกกำหนดให้ใช้สไตล์นั้นกลับไปใช้สไตล์เดิมก่อนการเปลี่ยนใหม่ แต่ถ้าในกรณีที่สไตล์ถูกลบสร้างจากสไตล์อื่นเป็นแบบอีกที (ที่เรากำหนดในช่อง Based on) เชพก็จะใช้สไตล์จาก Based on แทน
1.      เลือกสไตล์ที่ต้องการลบ
2.      คลิกปุ่ม Delete
3.      คลิกปุ่ม OK